วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ภาวะวัยทอง

สตรีวัยหมดประจำเดือน หรือ เรียกว่า ภาวะวัยทอง  เป็นสิ่งที่ผู้หญิงอายุเกินกว่า 40 ปี ขึ้นไปจะต้องเผชิญ ภาวะวัยทองมีอาการดังต่อไปนี้
1. อาการร้อนวูบวาบตามตัว เป็นอาการเริ่มแรกของผู้หญิงวัยทองโดยทั่วไป มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น และก่อให้เกิดความรำคาญมากน้อยแตกต่างกันตามบุคคล
2. พบการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยังอาจเกิดการอักเสบของช่องคลอด โดยอาการที่พบบ่อยคือ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม
3. ความต้องการทางเพศลดลง
4. อารมณ์หงุดหงิดและแปรปรวนง่าย
5. ประจำเดือนผิดปกติ และบางครั้งมีเลือดออกมาก มักพบได้ในช่วงระยะที่ใกล้หมดประจำเดือน
6. ความจำเสื่อม หลงลืมได้ง่าย
7. ความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิดได้แก่
    - กระดูกพรุน กระดูกบางและเปราะง่าย
    - ผิวหนังจะบางลง แห้งและเกิดเป็นแผลได้ง่าย มีอาการคันตามผิวหนังและผิวหนังเกิดผื่นแพ้ง่าย
    - นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ
    - โรคหลอดเลือดและหัวใจ
    - โรคอัลไซเมอร์
    - มะเร็งลำไส้ใหญ่
เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป) ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะต่ำมาก ส่งผลให้เกิดอาการดังกล่าว ซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างแล้วแต่บุคคล

สิ่งที่ควรทำเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง
      สตรีวัยทองควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อยพร้อมก้าง ผักใบเขียว เป็นต้น เพื่อลดการสูญเสียแคลเซียมของกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุน
     ในปัจจุบัน มีการนำสารจากธรรมชาติหลากหลายชนิดมาใช้เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นในผู้หญิงวัยทอง เช่น สารสกัดจากถั่วเหลือง และพืชที่มีลิกนินมาก โดยเฉพาะ เมล็ดแฟลกซ์ ที่ให้ไฟโตเอสโตเจนในปริมาณสูง ซึ่งให้สารที่มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน การได้รับสารดังกล่าว ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และมีจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน จะมีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพของคุณผู้หญิงได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ควรตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง





ลิกแนนจากแฟลกซ์เป็นไฟโตเอสโตรเจนจึงมีคุณสมบัติทั้ง “เสริม” และ “ต้าน”การทำงานของเอสโตรเจน ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าเมล็ดแฟลกซ์ จะไม่แสดงคุณสมบัติของเอสโตรเจนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม แต่ในทางกลับกันจะแสดงคุณสมบัติในการต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนแทนซึ่งมีส่วนช่วยในการลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้องอก และเพิ่มการตายของเซลล์มะเร็ง จึงสรุปได้ว่า การบริโภคเมล็ดแฟลกซ์สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้
-        ดูแลสุขภาพกระดูกโดยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกเนื่องจากภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
-        ต้านอนุมูลอิสระช่วยในการดูแลสุขภาพโดยรวม ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และเบาหวาน
-      ลดสาเหตุการเกิดสิว  สาเหตุหนึ่งของการเกิดสิว อาจเกิดจากการที่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนเอนโดรเจน หรือฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งถ้ามีสูงเกินไปจะมีส่วนในการกระตุ้นการเพิ่มการผลิตน้ำมันในชั้นผิวหนัง ส่งผลให้เกิดสิวได้ การได้รับลิกแนนจากแฟลกซ์สามารถลดการผลิต ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่ง  จึงอาจมีส่วนช่วยในการลดโอกาสการเกิดสิวได้  นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติในการลดการผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ จึงเป็นประโยชน์ต่อคุณผู้ชายที่มีฮอร์โมนเพศชายมากจนเกินไปจนมีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงผมร่วงอันเนื่องมาจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้อีกด้วย

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น