คุณรู้หรือไม่ว่าการขาดแคลเซียม แมกนีเซียมและวิตามินบี เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด ตะคริว!!!/
ภาวะกล้ามเนื้อเป็นตะคริว คือภาวะที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยไม่มีการคลายออกตามปกติ มักเกิดไม่เกินสองนาที แต่อาจมีบางรายเกิดนานได้เป็นชั่วโมงหรือมากกว่านั้น และบางรายอาจเกิดบ่อยจนทำให้เกิดความทุกข์ทรมานและรบกวนการดำเนินชีวิตปกติได้ อาการนี้แม้จะไม่ส่งผลถึงแก่ชีวิต แต่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากเกิดในระหว่างทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ขับรถหรือว่ายน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
โรคกล้ามเนื้อเป็นตะคริว สามารถเกิดได้ในทุกวัย และพบได้บ่อยมากขึ้นในผู้สูงอายุ โดยผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้ใกล้เคียงกัน กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวบ่อยที่สุด คือ กล้ามเนื้อน่องและเท้า รองลงมา คือ กล้ามเนื้อหลัง อย่างไรก็ตามตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้กับกล้ามเนื้อทุกมัด
แม้ว่าโรคกล้ามเนื้อเป็นตะคริวจะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง และมักหายได้เอง แต่เมื่อหายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้เสมอ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุการเกิดโรค
อาการ
อาการของโรคกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว คือ การปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน ปวดมาก คลำได้ว่ากล้ามเนื้อเกร็งแข็ง เป็นก้อนเข็ง เจ็บเวลาคลำ และเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดนั้นไม่ได้เนื่องจากเจ็บหรือปวดมาก
สาเหตุ
1.เกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อขาดการยืดตัวบ่อยๆ ส่งผลให้มีการหดรั้งและเกร็งได้ง่ายเมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อนั้นมากเกินไป เช่น กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานเกินกำลังจากการเดินมากเกินไป หรือออกกำลังมากเกินขีดจำกัด รวมทั้งกรณีที่กล้ามเนื้อไม่สามารถผ่อนคลายได้ตามปกติจากการสวมรองเท้าคับ หรือสวมรองเท้าส้นสูงเป็นระยะเวลานาน
2.เกิดจากร่างกายสูญเสียปริมาณน้ำหรือสูญเสียเกลือแร่สำคัญในการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ได้แก่ แคลเซียม เกลือโซเดียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งเกิดจากการเล่นกีฬาหักโหม ท้องเสียรุนแรง โรคลำไส้อักเสบ และโรคที่ส่งผลต่อสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ไตวาย โรคของต่อมไทรอยด์ โรคเบาหวาน รวมทั้งภาวะการขาดวิตามินบี ขาดแคลเซียม ก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยอีกสาเหตุหนึ่ง
3.เกิดจากเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไป
4.เกิดจากการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดีพอ ซึ่งมักพบในผู้ที่มีโรคที่ทำให้หลอดเลือดตีบ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น
5.เกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาลดไขมันบางชนิด ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยารักษาโรคสมองบางชนิด
การดูแลตนเองและการพบแพทย์
- ขณะกำลังเกิดตะคริว
- ควรพบแพทย์เมื่อ
การป้องกัน
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นประจำทุกวัน โดยเพิ่มผักและผลไม้ในปริมาณมากเพราะอุดมไปด้วยเกลือแร่ที่จำเป็นแก่ร่างกาย
2. ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ6-8 แก้ว หากไม่มีโรคที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม
3. หาก เป็นตะคริวบ่อย ควรรับประทานอาหารที่มีเกลือแร่สำคัญเพิ่มขึ้น หรือเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม และวิตามินบี เป็นองค์ประกอบหลัก
4. ออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อทุกส่วนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน โดยต้องวอร์มอัพก่อนออกกำลังกายและเล่นกีฬาใดๆเสมอ
5. สวมใส่รองเท้าให้เหมาะสมกับสรีระและลักษณะงานที่ทำ หากต้องสวมรองเท้าทั้งวันควรหาโอกาสถอดรองเท้าเพื่อผ่อนคลายและนวดเท้าเสมอ
6. ควบคุมหรือรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดตะคริว หากเกิดจากยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนยา หรือปรับขนาดยาให้เหมาะสม
7. งดหรือจำกัดการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ไม่ให้เกินปริมาณ 1 ดริ๊งในผู้หญิงและ 2 ดริ๊งค์ในผู้ชายต่อวัน
แคล-ดี-แมก 600
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม ผสมแมกนีเซียม วิตามิน ซี, สังกะสี, แมกกานีส, ทองแดง, วิตามิน อี และวิตามิน ดี3 ชนิดเม็ด
วิธีรับประทานครั้งละ 1 เม็ด พร้อมอาหารเช้า-เย็น
ขนาด 60 เม็ด
ราคา 420 บาท
โคลีน – บี
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โคลีน ไบทาร์เทรตผสมวิตามินบีคอมเพล็กซ์ ชนิดแคปซูล
วิธีรับประทาน : รับประทานวันละ 1-3 แคปซูล พร้อมอาหาร ขนาด 30 แคปซูล ราคา 280 บาท |
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556
สาเหตุหนึ่งของการเกิด ตะคริว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น