วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ไฟโตสเตอรอลกับโคเลสเตอรอล

ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) เป็นสารสเตอรอลที่พบในพืช มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกับโคเลสเตอรอลมาก จึงช่วยยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดด้วยกลไกการเข้าไปแทนที่โคเลสเตอรอล ทำให้โคเลสเตอรอลจากอาหารถูกดูดซึมน้อยลงและถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระใน ที่สุด ดังนั้นการบริโภคไฟโตสเตอรอลจะช่วยทำให้ระดับโคเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol)  หรือโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ลดลง โดยที่ไม่ไปกระทบกับ เอชดีแอล โคเลสเตอรอล  (HDL Cholesterol)  หรือโคเลสเตอรอลชนิดดี เป็นผลให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง
โคเลสเตอรอ (Cholesterols) คือ สารประกอบไขมันชนิดหนึ่ง พบได้ในสัตว์ และมนุษย์ ร่างกายได้รับโคเลสเตอรอลจากการสังเคราะห์ของตับ และจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โคเลสเตอรอลจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายโดยทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของผนัง เซลล์ในร่างกาย และยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนบางชนิดที่จำเป็นของร่างกาย และน้ำดี  โดยปกติแล้ว โมเลกุลของ โคเลสเตอรอล จะลอยในกระแสเลือดไม่ได้  เมื่อโคเลสเตอรอลเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด จะต้องมีการจับตัวกับโปรตีน เรียกว่า ไลโปโปรตีน โดยเราสามารถแบ่ง โคเลสเตอรอลในเลือดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
 1.
แอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol)
เปรียบเสมือน "ตัวผู้ร้าย" โดยแอลดีแอลที่มากเกิน จะเข้าไปแทรก และฝังตัวที่ผนังหลอดเลือด สะสมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน  และจะก่อให้เกิดเป็นพล๊าค (plaque) หรือตะกอน  ที่ผนังหลอดเลือดแดง  อันเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ยิ่งระดับ LDL โคเลสเตอรอลสูงมากเท่าไหร่ อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
2.
เอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol)
เปรียบเสมือน "ตำรวจ" คอยจับผู้ร้าย เพราะ เอชดีแอล โคเลสเตอรอล จะทำหน้าที่เป็นตัวพาโคเลสเตอรอล  จากหลอดเลือดแดง กลับไปทำลายที่ตับ การมีระดับ HDL โคเลสเตอรอลสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ 




สำหรับแนวทางในการควบคุมระดับโคเลสเตอรอล สามารถทำได้หลายวิธีคือ
 1. ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องใน อาหารทะเลบางชนิด อาหารประเภททอด น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง น้ำมันมะพร้าว กะทิ หันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ เช่น นมพร่องมันเนย และอาหารประเภทผักและผลไม้ต่างๆ หรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไฟโตสเตอรอลพร้อมกับมื้ออาหาร
     2.
ออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร วิธีนี้จะช่วยเพิ่มระดับ HDL โคเลสเตอรอล และลดระดับ LDL โคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ควรออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 ครั้ง และทำอย่างต่อเนื่องในแต่ละครั้งตามระดับความสามารถของร่างกายตัวเอง
    3.
ใช้ยาช่วยลดระดับไขมันในเลือด วิธีนี้ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย

ที่มาของข้อมูล : http://www.giffarinethailand.com/th/interesting.php?page=4

ไฟโตสเตอรอล แคปซูล

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไฟโตสเตอรอล ชนิดแคปซูล 
วิธีรับประทาน : ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง พร้อมอาหาร
ขนาด 60 แคปซูล
รหัสสินค้า:40115
ราคา:980 บาท








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น