โรคข้อเสื่อม เป็นความผิดปกติของข้อที่พบได้บ่อยในช่วงเข้าสู่วัยกลางคน และพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น พบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อม สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ทำให้เกิดความไม่สมดุลในการสร้าง การทำลายและการซ่อมแซมภายในข้อ ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อ ถูกทำลายอย่างช้าๆ เป็นผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อสึกกร่อน ซึ่งโดยปกติกระดูกอ่อนผิวข้อจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อ และป้องกันมิให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อนกระแทกกับกระดูกอีกฝั่ง หากกระดูกอ่อนผิวข้อเหล่านี้ถูกทำลาย ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม เมื่อมีน้ำหนักหรือแรงกดที่กระทำกับข้อ ก็จะส่งผลให้กระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อสัมผัสกัน กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อถูกยืด เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดตามมา กระดูกใต้กระดูกอ่อนหนาตัวเกิดกระดูกงอกทั้งตรงกลางและริมกระดูก นอกจากนี้เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย เยื่อบุผิวข้อจะสร้างน้ำไขข้อลดลงอีกด้วย ผลจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการข้อฝืด ใช้งานข้อไม่คล่อง มีเสียงดังในข้อ ปวดหรือเสียวในข้อ โดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวหรือใช้งานข้อมากกว่าปกติ พบได้บ่อยในตำแหน่งของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่มีอาการรุนแรงมาก ก็อาจมีอาการปวดข้ออย่างมากและรุนแรงเมื่อใช้งาน ปัจจัยที่น่าจะมีส่วนร่วมทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายได้แก่ อายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป กิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้ข้อต้องรับแรงกดมากจนเกินไป เช่น การนั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบ และปัจจัยทางพันธุกรรม กระดูกอ่อนผิวข้อ มีคอลลาเจนไทพ์-ทู เป็นส่วนประกอบหลัก ขณะที่ผิวหนังจะเป็นคอลลาเจนไทพ์-วัน ทั้งนี้คอลลาเจนไม่ได้คงอยู่ตลอดไป แต่จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุเข้าสู่วัย 30 ปี อัตราการสร้างจะลดลงร้อยละ 1.5 ในทุก ๆ ปี และเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทำให้ความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของโครงสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายลดลง เป็นผลให้เกิดปัญหาข้อเสื่อมปวดข้อ ในส่วนของผิวหนังก็จะเกิดริ้วรอย รอยเหี่ยวย่น ผิวพรรณแห้งกร้าน ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีการสกัดคอลลาเจนไทพ์- ทู จากกระดูกอ่อนบริเวณอกไก่ ที่มีกระบวนการพิเศษเฉพาะ ทำให้ได้คอลลาเจนที่เรียกว่า อันดีเนเจอร์ คอลลาเจน ไทพ์-ทู อันเปรียบเสมือนเป็นกุญแจที่จะไปหยุดกระบวนการทำลายของกระดูกอ่อนผิวข้อ การที่อันดีเนเจอร์ คอลลาเจน ที่ชื่อว่า ยู ซี-ทู ไปช่วยในเรื่องข้อเสื่อมนั้น อาจอธิบายได้ว่า ร่างกายมีกระบวนการสร้างหรือซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อ โดยสร้างคอลลาเจนจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แต่ร่างกายเองก็มีกระบวนการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อโดยที-เซลล์ (T-cell) หากเปรียบถังบรรจุน้ำเป็นกระบวนการสร้างผิวกระดูกอ่อน การเติมน้ำลงในถัง ก็คือการได้รับคอลลาเจน เพื่อไปสร้างหรือซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อ โดยน้ำที่อยู่ในถังก็คือกระดูกอ่อนผิวข้อ ส่วน T-cell ก็คือรูรั่วของถังที่ทำให้น้ำไหลออกจากถัง หากน้ำที่ไหลออกจากถังมีมากกว่าน้ำที่เติมเข้าไป ก็คือ มีการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อมากกว่า น้ำในถังก็จะลดลง เปรียบเสมือนกระดูกอ่อนผิวข้อบางลง ดังนั้น การได้รับอันดีเนเจอร์ คอลลาเจน จึงเป็นการไปอุดรูรั่วของถังหรือลดการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้กลับคืนสู่สภาวะสมดุล
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้อันดีเนเจอร์ คอลลาเจน ไทพ์-ทู (UC-II) ในโรคข้อเสื่อม มีงานวิจัยที่ทดสอบในผู้หญิงอายุ 58-78 ปี ที่ทรมานจากอาการปวดข้อ จำนวน 5 คน ให้รับประทานอันดีเนเจอร์ คอลลาเจน ที่ชื่อว่า ยู ซี-ทู (UC-II) 10 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 42 วัน พบว่ามีอาการดีขึ้น
ควรทาน ยูซี - ทู ร่วมกับ คอลลาเจน แมกซ์ หรือ เอสโอพี คอลลาเจน หรือ โรส ไวท์ ดริ้ง เนื่องจาก ยูซี - ทู ช่วยลดการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ และควรเติม คอลลาเจนให้กับร่างกายด้วย คอลลาเจน แมกซ์ หรือ เอสโอพี คอลลาเจน หรือ โรส ไวท์ ดริ้ง เนื่องจากคอลลาเจนในร่างกายจะลดลง เมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาข้อเสื่อม ปวดข้อ ในส่วนของผิวหนังก็จะเกิดริ้วรอย รอยเหี่ยวย่น ผิวพรรณแห้งกร้าน เรื่องน่ารู้ของเถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง เป็นหนึ่งในตัวยาที่ถูกบรรจุอยู่ในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยมีสรรพคุณเป็นยากษัยเส้น หรือยาแก้ปวดเมื่อย มีการศึกษาถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และความปลอดภัยในการใช้เถาวัลย์เปรียง สามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่างๆ ช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่าง
มีความปลอดภัย ไม่กัดกระเพาะ ไม่ควรทานติดต่อกันนานเกิน 2 เดือน
“โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ โดยพบในผู้ป่วยวัย 50 ปีขึ้นไป มากถึงร้อยละ 40 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดเข่า และไม่สามารถทำงานหรือดำรงชีวิตได้อย่างปกติ หนึ่งในวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม คือ การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง และผู้ป่วยก็มักจะได้รับยาแก้ปวดร่วมด้วย ซึ่งได้แก่ ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDS แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงที่สำคัญคือระคายเคือง และทำให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหารและยามีราคาแพง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพรจึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยสมุนไพร “เถาวัลย์เปรียง” ใช้ในการรักษาผู้ป่วย โดยพบว่าสารสกัดจากลำต้นของเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังส่วนล่างได้ ขณะเดียวกัน ได้ดำเนินการศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง พบว่ามีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังได้ทดสอบสรรพคุณในอาสาสมัครโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบ Naproxen และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงก็พบว่าสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดี และมีแนวโน้มว่าปลอดภัยกว่ายา Naproxen เพราะพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา Naproxen มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง จุกเสียด แน่นท้อง ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่มีอาการข้างเคียงดังกล่าว | ||
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น